คำว่า ห้องสมุด (Library) หมายถึง
การจัดเก็บรวบรวมวัสดุที่ใช้บันทึกความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ทุกรูปแบบ
มีการจัดดำเนินการเพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์
ความหมายของห้องสมุด คือ สถาบันที่ทำหน้าที่คัดเลือก จัดหา รวบรวม วิเคราะห์ จัดเก็บสารนิเทศในรูปแบบต่าง ๆ ทุกรูปแบบทั้งที่เป็นวัสดุสิ่งพิมพ์ วัสดุโสตทัศน์และวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ มีการจัดองค์กรบริหารและดำเนินการตามระบบสากล ในฐานะที่เป็นสถาบันสำคัญของสังคมที่ทำหน้าที่สร้างสม สืบทอดและเผยแพร่มรดกทางความคิด ภูมิปัญญา ประสบการณ์ กิจกรรมการค้นคิดตลอดจนวิชาการใหม่ ๆ เพื่อเป็นรากฐานในการสร้างสรรค์ พัฒนา และความเจริญก้าวหน้าของสังคมต่อไป
ปัจจุบันมีการจัดระบบห้องสมุดในรูปแบบใหม่เป็นห้องสมุดอัตโนมัติ (Library Automation) ห้องสมุดมัลติมีเดีย (Multimedia Library) หรือห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) เป็นต้น
ความหมายของห้องสมุด คือ สถาบันที่ทำหน้าที่คัดเลือก จัดหา รวบรวม วิเคราะห์ จัดเก็บสารนิเทศในรูปแบบต่าง ๆ ทุกรูปแบบทั้งที่เป็นวัสดุสิ่งพิมพ์ วัสดุโสตทัศน์และวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ มีการจัดองค์กรบริหารและดำเนินการตามระบบสากล ในฐานะที่เป็นสถาบันสำคัญของสังคมที่ทำหน้าที่สร้างสม สืบทอดและเผยแพร่มรดกทางความคิด ภูมิปัญญา ประสบการณ์ กิจกรรมการค้นคิดตลอดจนวิชาการใหม่ ๆ เพื่อเป็นรากฐานในการสร้างสรรค์ พัฒนา และความเจริญก้าวหน้าของสังคมต่อไป
ปัจจุบันมีการจัดระบบห้องสมุดในรูปแบบใหม่เป็นห้องสมุดอัตโนมัติ (Library Automation) ห้องสมุดมัลติมีเดีย (Multimedia Library) หรือห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) เป็นต้น
ห้องสมุด คือแหล่งสารนิเทศ
บริการทรัพยากรสารนิเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร
กฤตภาค วัสดุเทป และโทรทัศน์ CD-ROM DVD VCD โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้ดำเนินงาน
และบริหารงานต่างๆ ในห้องสมุด โดยจัดระบบเป็นหมวดหมู่ และระเบียบเรียบร้อย
เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีความสะดวกสืบค้นได้ง่ายและตรงกับความต้องการ
ห้องสมุดในปัจจุบัน
ทำหน้าที่เก็บรวบรวม จัดระบบ เพื่อให้บริการสื่อสารนิเทศต่างๆ
ตลอดจนถึงเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร
อีกทั้งยังมีเครื่องมือในการค้นหาและดำเนินการให้บริการสื่อต่างๆ
เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ห้องสมุด
ห้องสมุด
ยังมีคำเรียกต่างๆ อีกมากมาย อาทิ ศูนย์ข้อมูลหนัง , ศูนย์วัสดุหนัง
, ศูนย์วัสดุการศึกษาหนัง , สถาบันวิทยบริการหนังสือ
ศูนย์เอกสารหนังสือ และ ศูนย์สารนิเทศ หนัง เป็นต้น
ความสำคัญของห้องสมุด
1. ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร ความรู้
และวิชาการต่าง ๆ ที่นักศึกษาสามารถค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้ตลอดเวลา 2.
ห้องสมุดเป็นแหล่งที่นักศึกษาสามารถเลือกหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
ได้อย่างหลากหลาย ตามความสนใจและความต้องการของตนเอง 3. ห้องสมุดช่วยให้นักศึกษาเป็นผู้ที่ทันสมัยทันต่อเหตุการณ์
เนื่องจากข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และวิชาการต่าง ๆ เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา 4.
ห้องสมุดช่วยให้นักศึกษาเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
เกิดนิสัยรักการอ่าน และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
เกิดความรู้อันเป็นรากฐานในการค้นคว้าวิจัยสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ 5. ห้องสมุดช่วยปลูกฝังให้นักศึกษาเป็นพลเมืองดี เป็นนักประชาธิปไตย
มีจรรยาบรรณรู้จักปฏิบัติตนตามกฎเกณฑ์ของสังคม มีความรับผิดชอบ รู้เท่าทันโลห้องสมุด
มีบทบาทต่อบุคคลต่างๆ มากมาย ซึ่งห้องสมุด สามารถทำประโยชน์ต่อสังคมในด้านต่างๆ
·
ด้านวัฒนธรรม ห้องสมุดเป็นที่บำรุงรักษาวัฒนธรรมของชาติหนังสือ
ให้สืบทอดไปยังอนุชนรุ่นต่อไป เนื่องจากห้องสมุด
เป็นแหล่งที่จัดเก็บข้อมูลทางด้านสารนิเทศ ซึ่งส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ
และสามารถใช้บ่งบอกความเจริญก้าวหน้าของประเทศนั้นๆ อีกด้วย
วัตถุประสงค์หลัก
ทั่วไปของห้องสมุดมีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ ดังนี้
1.
เพื่อการศึกษา - การใช้ห้องสมุด เป็นหัวใจของการศึกษา
เพราะห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ สามารถให้ผู้คน
รู้จักศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความรู้เพิ่มเติมจากที่ร่ำเรียน
ไม่ว่าจะเป็น นักเรียนอนุบาล ประถมศึกษามัธยมศึกษา อุดมศึกษา
รวมไปถึงผู้ที่จบการศึกษาแล้ว ประชาชนทั่วไป
สามารถใช้ห้องสมุดศึกษาหาความรู้ได้ตลอดชีวิต
2.
เพื่อให้ความรู้และข่าวสาร - ทุกวันนี้วิทยาการต่างๆ ก้าวไปอย่างรวดเร็ว
ห้องสมุดเป็นสถานที่สำหรับศึกษาวิทยาการต่างๆ และติดตามข่าวความเคลื่อนไหวทั้งภายในและภายนอกประเทศทั่วโลก
ให้คนรู้จักข่าวคราว ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ช่วยพัฒนาประเทศต่อไป
3.
เพื่อใช้ในการค้นคว้า -ในห้องสมุด มีสารนิเทศมากมาย
เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ เหมาะสำหรับเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผู้ที่จะทำการวิจัย
จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเบื้องต้นจากเรื่องที่มีอยู่แล้ว
4.
เพื่อจรรโลงใจมนุษย์ - การอ่านหนังสือ นอกเสียจากการได้ความรู้แล้ว
ยังทำให้ผู้อ่านมีความสุขได้อีกด้วย เนื่องจากความซาบซึ้งในความคิดที่ดีงาม
ให้ความจรรโลงใจในสิ่งที่ดีแก่ผู้อ่าน ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ให้ทำประโยชน์ต่อสังคม
เช่น การอ่านหนังสือธรรมะ ทำให้ซาบซึ้งถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หนังสือวรรณกรรม
วรรณคดี ทำให้เกิดจินตนาการ หนังสือประเภทต่างๆ เพื่อให้ความบันเทิงเบาสมอง เช่น
นวนิยาย เรื่องสั้น นิตยสาร เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
และปลูกสำนึกรักการอ่าน รู้จักอ่านหนังสืออย่างมีวิจารณญาณ
5.
เพื่อนันทนาการ - หรือพักผ่อนหย่อนใจ
ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์ที่ต้องการพักผ่อนสมอง ผ่อนคลายความตึงเครียด
เกิดความเพลิดเพลินใจ สบายใจ วัสดุห้องสมุดที่มีเนื้อหาสาระ
ทั้งสารคดีและบันเทิงคดี สามารถก่อให้เกิดนันทนาการได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น