ผลไม้ที่น่ารู้จัก
ฤ ดู ก า ล ข อ ง ผ ล ไ ม้
วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559
FinalDetail2
คำว่า ห้องสมุด (Library) หมายถึง
การจัดเก็บรวบรวมวัสดุที่ใช้บันทึกความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ทุกรูปแบบ
มีการจัดดำเนินการเพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์
ความหมายของห้องสมุด คือ สถาบันที่ทำหน้าที่คัดเลือก จัดหา รวบรวม วิเคราะห์ จัดเก็บสารนิเทศในรูปแบบต่าง ๆ ทุกรูปแบบทั้งที่เป็นวัสดุสิ่งพิมพ์ วัสดุโสตทัศน์และวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ มีการจัดองค์กรบริหารและดำเนินการตามระบบสากล ในฐานะที่เป็นสถาบันสำคัญของสังคมที่ทำหน้าที่สร้างสม สืบทอดและเผยแพร่มรดกทางความคิด ภูมิปัญญา ประสบการณ์ กิจกรรมการค้นคิดตลอดจนวิชาการใหม่ ๆ เพื่อเป็นรากฐานในการสร้างสรรค์ พัฒนา และความเจริญก้าวหน้าของสังคมต่อไป
ปัจจุบันมีการจัดระบบห้องสมุดในรูปแบบใหม่เป็นห้องสมุดอัตโนมัติ (Library Automation) ห้องสมุดมัลติมีเดีย (Multimedia Library) หรือห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) เป็นต้น
ความหมายของห้องสมุด คือ สถาบันที่ทำหน้าที่คัดเลือก จัดหา รวบรวม วิเคราะห์ จัดเก็บสารนิเทศในรูปแบบต่าง ๆ ทุกรูปแบบทั้งที่เป็นวัสดุสิ่งพิมพ์ วัสดุโสตทัศน์และวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ มีการจัดองค์กรบริหารและดำเนินการตามระบบสากล ในฐานะที่เป็นสถาบันสำคัญของสังคมที่ทำหน้าที่สร้างสม สืบทอดและเผยแพร่มรดกทางความคิด ภูมิปัญญา ประสบการณ์ กิจกรรมการค้นคิดตลอดจนวิชาการใหม่ ๆ เพื่อเป็นรากฐานในการสร้างสรรค์ พัฒนา และความเจริญก้าวหน้าของสังคมต่อไป
ปัจจุบันมีการจัดระบบห้องสมุดในรูปแบบใหม่เป็นห้องสมุดอัตโนมัติ (Library Automation) ห้องสมุดมัลติมีเดีย (Multimedia Library) หรือห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) เป็นต้น
ห้องสมุด คือแหล่งสารนิเทศ
บริการทรัพยากรสารนิเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร
กฤตภาค วัสดุเทป และโทรทัศน์ CD-ROM DVD VCD โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้ดำเนินงาน
และบริหารงานต่างๆ ในห้องสมุด โดยจัดระบบเป็นหมวดหมู่ และระเบียบเรียบร้อย
เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีความสะดวกสืบค้นได้ง่ายและตรงกับความต้องการ
ห้องสมุดในปัจจุบัน
ทำหน้าที่เก็บรวบรวม จัดระบบ เพื่อให้บริการสื่อสารนิเทศต่างๆ
ตลอดจนถึงเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร
อีกทั้งยังมีเครื่องมือในการค้นหาและดำเนินการให้บริการสื่อต่างๆ
เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ห้องสมุด
ห้องสมุด
ยังมีคำเรียกต่างๆ อีกมากมาย อาทิ ศูนย์ข้อมูลหนัง , ศูนย์วัสดุหนัง
, ศูนย์วัสดุการศึกษาหนัง , สถาบันวิทยบริการหนังสือ
ศูนย์เอกสารหนังสือ และ ศูนย์สารนิเทศ หนัง เป็นต้น
ความสำคัญของห้องสมุด
1. ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร ความรู้
และวิชาการต่าง ๆ ที่นักศึกษาสามารถค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้ตลอดเวลา 2.
ห้องสมุดเป็นแหล่งที่นักศึกษาสามารถเลือกหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
ได้อย่างหลากหลาย ตามความสนใจและความต้องการของตนเอง 3. ห้องสมุดช่วยให้นักศึกษาเป็นผู้ที่ทันสมัยทันต่อเหตุการณ์
เนื่องจากข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และวิชาการต่าง ๆ เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา 4.
ห้องสมุดช่วยให้นักศึกษาเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
เกิดนิสัยรักการอ่าน และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
เกิดความรู้อันเป็นรากฐานในการค้นคว้าวิจัยสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ 5. ห้องสมุดช่วยปลูกฝังให้นักศึกษาเป็นพลเมืองดี เป็นนักประชาธิปไตย
มีจรรยาบรรณรู้จักปฏิบัติตนตามกฎเกณฑ์ของสังคม มีความรับผิดชอบ รู้เท่าทันโลห้องสมุด
มีบทบาทต่อบุคคลต่างๆ มากมาย ซึ่งห้องสมุด สามารถทำประโยชน์ต่อสังคมในด้านต่างๆ
·
ด้านวัฒนธรรม ห้องสมุดเป็นที่บำรุงรักษาวัฒนธรรมของชาติหนังสือ
ให้สืบทอดไปยังอนุชนรุ่นต่อไป เนื่องจากห้องสมุด
เป็นแหล่งที่จัดเก็บข้อมูลทางด้านสารนิเทศ ซึ่งส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ
และสามารถใช้บ่งบอกความเจริญก้าวหน้าของประเทศนั้นๆ อีกด้วย
วัตถุประสงค์หลัก
ทั่วไปของห้องสมุดมีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ ดังนี้
1.
เพื่อการศึกษา - การใช้ห้องสมุด เป็นหัวใจของการศึกษา
เพราะห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ สามารถให้ผู้คน
รู้จักศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความรู้เพิ่มเติมจากที่ร่ำเรียน
ไม่ว่าจะเป็น นักเรียนอนุบาล ประถมศึกษามัธยมศึกษา อุดมศึกษา
รวมไปถึงผู้ที่จบการศึกษาแล้ว ประชาชนทั่วไป
สามารถใช้ห้องสมุดศึกษาหาความรู้ได้ตลอดชีวิต
2.
เพื่อให้ความรู้และข่าวสาร - ทุกวันนี้วิทยาการต่างๆ ก้าวไปอย่างรวดเร็ว
ห้องสมุดเป็นสถานที่สำหรับศึกษาวิทยาการต่างๆ และติดตามข่าวความเคลื่อนไหวทั้งภายในและภายนอกประเทศทั่วโลก
ให้คนรู้จักข่าวคราว ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ช่วยพัฒนาประเทศต่อไป
3.
เพื่อใช้ในการค้นคว้า -ในห้องสมุด มีสารนิเทศมากมาย
เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ เหมาะสำหรับเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผู้ที่จะทำการวิจัย
จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเบื้องต้นจากเรื่องที่มีอยู่แล้ว
4.
เพื่อจรรโลงใจมนุษย์ - การอ่านหนังสือ นอกเสียจากการได้ความรู้แล้ว
ยังทำให้ผู้อ่านมีความสุขได้อีกด้วย เนื่องจากความซาบซึ้งในความคิดที่ดีงาม
ให้ความจรรโลงใจในสิ่งที่ดีแก่ผู้อ่าน ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ให้ทำประโยชน์ต่อสังคม
เช่น การอ่านหนังสือธรรมะ ทำให้ซาบซึ้งถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หนังสือวรรณกรรม
วรรณคดี ทำให้เกิดจินตนาการ หนังสือประเภทต่างๆ เพื่อให้ความบันเทิงเบาสมอง เช่น
นวนิยาย เรื่องสั้น นิตยสาร เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
และปลูกสำนึกรักการอ่าน รู้จักอ่านหนังสืออย่างมีวิจารณญาณ
5.
เพื่อนันทนาการ - หรือพักผ่อนหย่อนใจ
ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์ที่ต้องการพักผ่อนสมอง ผ่อนคลายความตึงเครียด
เกิดความเพลิดเพลินใจ สบายใจ วัสดุห้องสมุดที่มีเนื้อหาสาระ
ทั้งสารคดีและบันเทิงคดี สามารถก่อให้เกิดนันทนาการได้
วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559
15 ผลไม้หน้าฝนมีประโยชน์
1. เงาะ (Rambutan) เงาะเป็นผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินซี น้ำตาล และมีสารอาหารอีกมาก เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
ดีอย่างไร : เงาะมีสรรพคุณในการแก้บิด ท้องร่วง ท้องอืด ท้องเฟ้อ และแก้ไข้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถกินได้
ดีทั้งผล : เปลือกเงาะมีรสฝาด มีสารแทนนินใช้เป็นยาขับพยาธิ เมล็ดมีฤทธิ์ทำให้หลับ ถ้านำผลเงาะมาต้มแล้วนำน้ำที่ได้มาใช้เป็นยาแก้อักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการอักเสบในช่องปาก ข้อควรระวัง คือ เม็ดในของเงาะมีพิษแม้ว่าจะเอาไปคั่วจนสุกแล้ว แต่ถ้ากินมากเกินไปจะมีอาการปวดท้อง เวียนศีรษะ มีไข้ คลื่นไส้หรืออาเจียนได้
2. กระท้อน (Santol) เนื้อกระท้อนอุดมด้วยวิตามินเอ ซี และบี 1 ฟอสฟอรัส แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต เหล็ก ไนอะซิน เส้นใย โปรตีน และมีสารแอนติออกซิแดนท์สูงที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ แก้กระหายน้ำ ลดอาการเจ็บคอ ป้องกันการเกิดมะเร็ง บำรุงโลหิต แก้ลมจุกเสียด
ดีทั้งต้น : ใบผสมน้ำต้มอาบขับเหงื่อ แก้ไข้ รักษาโรคผิวหนัง รากใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้มาลาเรีย แก้บิด แก้ท้องร่วง หรือตำกับน้ำและน้ำส้มสายชู ดื่มแก้ท้องเดิน และช่วยขับลม
3. ระกำ (Salacca) เนื้อผลมีกรดอินทรีย์ วิตามินซีแคลเซียม ฟอสฟอรัส คาร์โบไฮเดรต และเหล็ก มีสรรพคุณทางยา ทำให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการกระหายน้ำ บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ ช่วยป้องกันโรคหวัด คลายร้อน ช่วยย่อยอาหาร และทำให้เจริญอาหาร
4. ทุเรียน (Durian) เนื้อทุเรียนให้พลังงานความร้อน ถ้ากินทุเรียนในช่วงอากาศร้อนมากๆ จะทำให้รู้สึกร้อนและอึดอัด ทุเรียนให้สารอาหารสำคัญ เช่น โปรตีน น้ำตาล ไขมัน คาร์โบไฮเดรต รวมถึงแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย อาทิ สารกำมะถันมาก แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินเอ
ข้อควรระวัง : ไม่ควรดื่มสุราเมื่อกินทุเรียน เพราะจะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หลังกินทุเรียนควรกินมังคุดที่เป็นผลไม้มีฤทธิ์เย็นตาม เพื่อให้อุณหภูมิภายในร่างกายสมดุล
5. น้อยหน่า (Sugar apple / Custard apple) เนื้อน้อยหน่าอุดมไปด้วยโปรตีน ไขมัน น้ำตาล วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ช่วยให้ชุ่มคอ เป็นยาระบายอ่อนๆ
ดีทั้งต้น : เมล็ดในน้อยหน่ามีสารที่มีฤทธิ์ฆ่าแมลงเรียกว่า Squamocin เพียงนำเนื้อในเมล็ดมาโขลกผสมน้ำมันมะพร้าวใช้กำจัด โดยชโลมเส้นผมทิ้งไว้สัก 1-2 ชั่วโมง ผสมน้ำแล้วชโลมทั่วศีรษะเป็นวิธีกำจัดเหาที่ได้ผลดีมาก ผลน้อยหน่าดิบใช้เป็นยาแก้พิษงู แก้ฝีในลำคอ กลากเกลื้อน และฆ่าพยาธิผิวหนัง ผลแห้งใช้รักษาโรคงูสวัด เริม และฝีในหู นำไปโขลกพอกตัวแก้ฟกช้ำและทาแก้โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน
6. ลำไย (Longan) เนื้อลำไยมีวิตามินและสารอาหารหลายชนิด เช่น วิตามินซี บี 1 และบี 2 สูง แคลเซียม ฟอสฟอรัส น้ำตาลกลูโคส น้ำตาลซูโคส และฟรุกโตสสูง ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานควรหลีกเลี่ยง ลำไยช่วยให้นอนหลับสบาย ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย แก้ผอมแห้งแรงน้อย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ บำรุงประสาท ขี้ลืม ใจสั่น บำรุงกำลังของสตรีภายหลังการคลอดบุตร ส่วนลำไยแห้งช่วยในการบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต และเมล็ดลำไยมีสารฝาดสมานที่ช่วยห้ามเลือด
7. ลางสาด (Langsat) เป็นผลไม้ในสกุลเดียวกับลองกอง มีลักษณะใกล้เคียงกัน เนื้อลางสาดมีวิตามินซี บี 1 และบี 2 คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัส
ดีทั้งต้น : เปลือกของต้นใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้ไข้ เปลือกผล สามารถแก้อาการท้องร่วงท้องเดินได้ โดยการนำเปลือกมาหั่นแล้วนำไปคั่วชงกับน้ำเดือด กินครั้งละครึ่งถ้วย ส่วนเมล็ด นำมาฝนกับน้ำฝนให้ข้น ใช้เป็นยาหยอดหู แก้อักเสบ หรือเป็นฝีในหู ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาเริมและงูสวัดได้
8. มะม่วง (Mango) มะม่วงมีวิตามินเอและซีสูง วิตามินบี 1 และบี 2 ไนอาซิน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และสารแคโรทีนอยด์ มะม่วงดิบใช้บำรุงกระเพาะอาหาร แก้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน กระหายน้ำ ผลสุกกินแก้คลื่นไส้ วิงเวียน โรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันโรคเหน็บชา ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ขับปัสสาวะ และมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจและมะเร็ง สร้างเสริมภูมิคุ้มกัน เสริมการทำงานของระบบประสาท ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรกินมะม่วงมากเกินไป เพราะจะทำให้อาการของโรคเป็นมากขึ้น
9. มะละกอ (Papaya) สารอาหารในมะละกอทั้งสุกและดิบประกอบด้วย วิตามินเอ ซี และบีสูง มีคาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เพคติน เหล็ก และ Cerotenoid ผลดิบนิยมนำมาทำอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ส่วนผลสุกนิยมกินสด มะละกอสุกใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยบำรุงสายตา ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยป้องกันอาการเลือดออกตามไรฟัน และป้องกันโรคกระดูกผุ
10. มะยม (Star gooseberry) เนื้อมะยมมีวิตามินและสารอาหาร เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เนื้อมะยมช่วยกัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง
ดีทั้งต้น : รากมะยมแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ส่วนเปลือกต้นแก้ไขทับระดูและแก้เม็ดผดผื่นคัน ส่วนใบนำมาเป็นส่วนประกอบของยาเขียว ใช้แก้ไข้และบำรุงประสาท
11. มังคุด (Mangosteen) เป็นผลไม้ให้พลังงานต่ำ มีเส้นใยอาหารมาก ส่วนมากจะกินสด และกากใยจากเนื้อของมังคุดช่วยในการขับถ่าย ถ้ากินมังคุดหลังจากกินทุเรียนจะช่วยลดความร้อนในร่างกาย เพราะมีฤทธิ์เย็น ทำให้ไม่เป็นแผลร้อนใน เนื้อมังคุดมีสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไนอะซิน วิตามินบี 1 บี 2 และซี
12. ฝรั่ง (Guava) เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีและเอ แคลเซียม โพแทสเซียม และเหล็กสูง มีสารเพกทินหรือใยอาหาร และสารแทนนิน ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ชะลอการลุกลามของมะเร็ง และทำให้ผิวพรรณดี แผลหายเร็ว ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวและสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยบรรเทาอาการท้องเดินได้ แต่ถ้ากินในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้ท้องผูก กรณีที่เครียดและมักมีอาการปวดศีรษะบ่อยๆ ให้นำผลฝรั่งอ่อนมาฝานบางๆ แช่เย็นแล้วปิดขมับ จะช่วยผ่อนคลายได้
13. สับปะรด (Pineapple) สับปะรดอุดมด้วยวิตามินซี โพแทสเซียม และแมกนิเซียมสูง เบต้าแคโรทีน แมงกานีส มีน้ำตาล ใยอาหาร กรด และเอนไซม์ย่อยโปรตีนชนิดหนึ่งชื่อว่า โบรมีลิน (Bromelain) ช่วยให้ร่างกายย่อยเนื้อสัตว์ได้เร็วขึ้น เนื้อสับปะรดช่วยให้เหงือกแข็งแรง ป้องกันความเสี่ยงจากโรคเหงือก ช่วยบรรเทาอาการอักเสบและป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ช่วยย่อยอาหาร เสริมการดูดซึมอาหาร ดับร้อนแก้กระหาย รักษาบาดแผลในปาก ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ป้องกันโรคไต ความดันโลหิตสูง และหลอดลมอักเสบ ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง น้ำสับปะรดช่วยแก้ท้องผูก ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับปัสสาวะ ใช้รักษาแผลเป็นหนอง และถ้านำน้ำสับปะรดมากลั้วคอจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ
14. มะเฟือง (Star Fruit Belimbing, Carambola) มะเฟืองเป็นผลไม้ที่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายที่อุดมด้วยวิตามินเอ ซี บี 1 และบี 2 ไนอะซีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็กโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เส้นใย และให้พลังงาน สรรพคุณใช้เป็นยาขับเสมหะ บรรเทาอาการไอ ช่วยลดอุณหภูมิความร้อนภายในร่างกาย รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบายแก้ท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้นิ่วในไต และบรรเทาอาการนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ช่วยแก้เครียด ช่วยขับระดู สตรีจึงไม่ควรกินขณะมีประจำเดือนหรือตกขาว
15. มะขามป้อม (Emblic myrobalan) อุดมไปด้วยวิตามินซี มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ บรรเทาอาการเจ็บคอ หวัด บรรเทาอาการกระหายน้ำทำให้ชุ่มคอ การกินผลไม้ตามฤดูกาลนั้น นอกจากจะได้ผลไม้ราคาถูก หาซื้อง่ายแล้ว เรายังได้ผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยกว่าผลไม้นอกฤดูอีก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดนั้น ควรคำนึงถึงสุขภาพเป็นสำคัญ เช่น ถ้าเป็นเบาหวาน หรือกำลังควบคุมน้ำหนัก ก็ไม่ควรกินผลไม้ที่มีรสหวานจัด เพราะจะทำให้กระทบกับสุขภาพ
วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559
ม า รู้ จั ก ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง ผ ล ไ ม้
ม า รู้ จั ก ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง ผ ล ไ ม้
ผลไม้ = ผล + ไม้
คำนี้จึงสามารถอธิบายได้ว่า สิ่งที่เป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตจำพวกพืชโดยลักษณะ
รวมๆ จะมีรูปทรงคล้ายทรงกลมหรือทรงรีซึ่งอาจมีความแตกต่างกันบ้างตามสายพันธุ์ โดย
ปกติผลไม้จะต้องมีเปลือกหรือมีสิ่งที่ห่อหุ้มเนื้อที่อยู่ข้างใน ซึ่งมักจะถูกนำไปรับประทานโดย
มนุษย์หรือสัตว์ในส่วนของการเจริญเติบโต สามารถขยายพันธุ์ได้โดยดอก เมล็ด หรือ อื่นๆ ซึ่ง
ผลไม้ที่ออกมานี้ตอนแรกจะมีขนาดเล็กและมักจะไม่ค่อยถูกนำมารับประทานโดยมนุษย์ แต่
เมื่อเติบโตจนสุกงอม จะมีลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิม คือ เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง มี
กลิ่นหอม และรสหวาน เป็นต้น
ประเทศไทยเป็นแผ่นดินที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ เป็นดินแดนที่มีพืชพรรณตาม
ธรรมชาติหลากหลายชนิดเหมาะต่อการเพาะปลูกและทำเกษตรกรรม มีสภาพภูมิอากาศที่แตก
ต่างกันทำให้เกิดความหลากหลายในการกระจายของผลผลิตไม้เมืองร้อนออกสู่ตลาดอย่างต่อ
เนื่องตลอดทั้งปี พื้นที่ปลูกไม้ผลตามภาคต่างๆ ของประเทศไทยมีกว่า 9.68 ล้านไร่
ธรรมชาติหลากหลายชนิดเหมาะต่อการเพาะปลูกและทำเกษตรกรรม มีสภาพภูมิอากาศที่แตก
ต่างกันทำให้เกิดความหลากหลายในการกระจายของผลผลิตไม้เมืองร้อนออกสู่ตลาดอย่างต่อ
เนื่องตลอดทั้งปี พื้นที่ปลูกไม้ผลตามภาคต่างๆ ของประเทศไทยมีกว่า 9.68 ล้านไร่
ผลไม้ไทยนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยสามารถทำรายได้เข้าประเทศไทยปีละ
หลายล้านบาทและเป็นที่นิยมบริโภคกันทั่วไป ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ไม้ผลที่มี
ความสำคัญทางเศรษฐกิจและมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นที่นิยมบริโภคในต่างประเทศจำนวน
10 ชนิด ได้แก่ ลำไย ทุเรียน มังคุด ลิ้นจี่ มะม่วง ส้มโอ เงาะ สับปะรด มะพร้าวน้ำหอม มะขาม
เป็นต้น และไม้ผลที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจในอนาคตหรือเป็นไม้ผลท้องถิ่นหรือพื้นเมือง มี
การบริโภคภายในประเทศมากกว่าการส่งออก ได้แก่ กระท้อน ชมพู่ น้อยหน่า พุทรา มะปราง
ฝรั่ง ลองกอง ลางสาด สละ ขนุน มะนาว องุ่นและกล้วย เป็นต้น
ประเทศไทยของเราอุดมไปด้วยพืช ผัก ผลไม้ที่อุดมสมบูรณ์ตล
อดมา การทำสวนผลไม้เป็นอาชีพที่สำคัญอย่างยิ่งของคนไทย ทำกันในทุกๆ ภาค ภาคเหนือก็มี ลำไย ลิ้นจี่ ส้ม ภาคกลางที่มีมะม่วง ส้ม ทุเรียน น้อยหน่า ภาคใต้ มีเงาะ มังคุด ทะเรียน มะพร้าว ฯลฯ ผลไม้มีมากมายหลายชนิดเรารู้หรือไม่ว่าผลไม้รวมๆ แล้ว แยกเป็นกี่ประเภท เรามาเริ่มที่
ไม้ผลขนาดใหญ่ คือ ไม้ผลที่มีต้นใหญ่อายุยืน ทนทาน เช่น
มะม่วง เงาะ ทุเรียน กระท้อน ส้ม มะปราง เป็นต้น
ไม้ผลขนาดเล็ก คือ เป็นผลไม้ที่เป็นพุ่มเตี้ย และไม่ค่อยแข็งแรง
อายุสั้นกว่าสองพวกแรก เช่น น้อยหน่า ทับทิม มะนาว เป็นต้น
แบ่งตามอายุของไม้ผล ไม้ผลพันธุ์หนัก คือ ไม้ผลที่ปลูกแล้วกว่าจะให้ผลเรารับประทานมักใช้เวลานาน มักเป็นไม้ขนาดใหญ่ ต้องใช้เวลาถึง 4 ปี กว่าจะได้ผล เช่น มะม่วง มังคุด ส้มเขียนหวาน มะปราง มะไฟ ละมุด เงาะ ลางสาด เป็นต้น ไม้ผลพันธุ์เบา คือ ไม้ผลที่ปลูกแล้วให้ผลได้ภายในระยะเวลา 1- 4 ปี เป็นผลไม้ที่มีขนาดเล็ก เช่น น้อยหน่า ส้มโอ มะละกอ มะยม เป็นต้น |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)